ปรับปรุงเมื่อ : 2024-10-22
จำนวนครั้งที่ชม : 6,315 ครั้ง
Online : 2 คน
จำนวนสินค้า : 8 รายการ
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2024-08-08
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-10-22 จำนวนครั้งที่ชม : 6,315 ครั้ง Online : 2 คน จำนวนสินค้า : 8 รายการ รวม ฿ THB
|
เหยื่อกำจัด มด ตะเข็บ ตะขาบ (ขั้นต่ำการสั่งซื้อ 10 ซอง) มด เป็น แมลง ในวงศ์ Formicidae อันดับ Hymenoptera มดมีการสร้างรังเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ บางรังมีจำนวนประชากรมากถึงล้านตัว มีการแบ่งวรรณะกันทำหน้าที่คือ วรรณะมดงาน เป็นมดเพศเมียเป็นหมัน ทำหน้าที่หาอาหาร สร้างและซ่อมแซมรัง ปกป้องรังจากศัตรู ดูแลตัวอ่อน และงานอื่น ๆ ทั่วไป เป็นวรรณะที่พบได้มากที่สุด วรรณะสืบพันธุ์ เป็นมดเพศผู้ และราชินี เพศเมีย มีหน้าที่สืบพันธุ์ เนื่องจากมดเป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae จึงสามารถผลิตกรดมดหรือกรดฟอร์มิกได้เป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์ในวงศ์นี้ มดหลายชนิดมีพฤติกรรมในการทำการเกษตรหรือเพาะปลูกพืชหรือเชื้อราบางชนิดเพื่อใช้เป็นอาหาร โดยเชื่อว่า มีพฤติกรรมเช่นนี้มานานถึง 30 ล้านปีแล้ว โดยการศึกษาของนักกีฏวิทยาพบว่า มดหลายชนิดมีพฤติกรรมการรู้จักการเพาะปลูกในเชิงสลับซับซ้อนคล้ายกับการเพาะปลูกของมนุษย์ รู้จักที่จะฝังเมล็ดพืชลงสู่พื้นดินอย่างไรถึงจะให้ผลผลิตที่ใช้เป็นอาหารได้ อีกทั้งรู้จักหลักในการควบคุมอุณหภูมิหรือความชื้นอีกด้วย ปัจจุบัน มีการค้นพบมดมากกว่า 12,000 ชนิด โดยพบมากในเขตร้อนของโลก เฉพาะในภูมิภาคอาเซียน ประมาณว่ามีมด 1,300-1,500 ชนิด สำหรับในประเทศไทยเริ่มมีการศึกษามดอย่างจริงจังในปี ค.ศ. 1997 พบมดแล้วกว่า 700 ชนิด และคาดว่าอาจมีมากได้ถึง 1,000 ชนิด
เหยื่อกำจัดมด ของ ส.กำแพงแสน วัตถุดิบตั้งต้น เป็น แอมโมเนีย (ใช้ดมแก้เป็นลม) การใช้แอมโมเนียมาใช้งาน ด้วยสาเหตแอมโมเนียมีการแตกตัวเร็ว และเป็นสารระเหยได้เร็ว คุณสมบัติในส่วนนี้เราได้นำมาใช้ในการกำจัดมดในรัง แต่ลักษณะของเม็ดเหยื่อสร้างขึ้นมาให้มีรูปลักษณ์ที่กึ่งคล้ายเม็ดทราย เพื่อให้ง่ายต่อการคาบเหยื่อไปในรัง ซึ่งจะพบว่ามดบางส่วนกินเหยื่อล่อ บริเวณที่โรยเหยื่อก็จะมีตายให้เห็นบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะทำหน้าที่มดคาบเหยื่อลงไปในรังเพื่อการสะสม เมื่อแอมโมเนียส่วนผสมในเม็ดเหยื่อเจอความชื้นในรังจะแตกตัวเกิดการระเหิด ไอของแอมโมเนียจะส่งผลให้มดตายกันทั้งรัง มดที่สามารถใช้งานได้ให้เกิดลักษณะการกำจัดแบบนี้ คือ มดคันไฟ มดละเอียด มดดำ มดตะนอย มดน้ำตาล แต่ถ้าเป็นมดแดง หรือ มดส้ม ตามต้นไม้ จะมีกินและตายให้เห็น เพราะมดเหล่านี้ถึงแม้คาบไปในรัง (รังใบไม้) จะไม่มีความชื้น แต่จะทำให้มดกระจายตัวหายไปอาจถึงขั้นไม่เหลือไว้ที่ต้นไม้เลย อาณุภาพหลักๆหลังจากการโรยเหยื่อ มดที่เห็นๆจะหายและเบาบางลงไป ถ้าเหยื่อกำจัดที่เราโรยยังคงสภาพไว้เช่นเดิมในบริเวณนั้นๆ
วิธีการใช้งาน นำเหยื่อไปโรยบริเวณที่มีมดชุกชุม รอบขาตู้ ขาโต๊ะ โคนเสา กระถางต้นไม้ โรยทิ้งไว้โดยไม่ต้องกวาดออก หรือถ้ากวาดออกก็ให้โรยใหม่ ถ้าเจอขุยหรือรังมดก็ให้นำเหยื่อกำจัดไปโรยได้เลย ไม่เกิน 10 นาทีมดจะเบาบางและหายไป จะมีเห็นตายบ้างประปราย กรณีที่มดไต่กำแพง ให้นำเหยื่อไปโรยตามขอบผนังกำแพงที่ใกล้ที่สุดที่โรยได้ใกล้กับบริเวณที่มดไต่ ถ้าใชักับต้นไม้ให้นำไปโรยรอบโคนต้น 1 ซองต่อ 1 ต้น ถ้าจำเป็นต้องรดน้ำ ก็งดการรดน้ำสัก 1-2 วัน หรือถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อเหยื่อหายไปก็โรยซ้ำเข้าไปใหม่อีกครั้ง ถ้ารณีมดแดง หรือมดส้มต้นไม้ ให้โรยตามโคนต้นและกิ่งที่โรยได้ หลีกเลี่ยงโรยในที่ชื้น ที่เปียกน้ำ เพราะเหยือเกิดจากสารละลายแล้วทำให้ตกผลึกนำมาบด เมื่อเจอความชื้นหรือพิ้นที่เปียก เหยื่อก็จะหายไปขาดประสิทธิภาพการกำจัด ตะเข็บ ตะขาบทำเช่นเดียวกับการกำจัดมด โรยบริเวณที่สัตว์เหล่านี้ชุกชุม หรือ โรยดักทางเข้า เช่น ประตูบ้าน ขอบหน้าต่าง ประตูห้องน้ำ |
|