JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2024-08-08
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-10-22
จำนวนครั้งที่ชม : 6,313 ครั้ง
Online : 1 คน
จำนวนสินค้า : 8 รายการ

การใช้งานเหยื่อกำจัดมด






                                                                                                


เหยื่อกำจัด มด ตะเข็บ ตะขาบ

(ขั้นต่ำการสั่งซื้อ 10 ซอง)

 

              มด เป็น แมลง ในวงศ์ Formicidae อันดับ Hymenoptera มดมีการสร้างรังเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ บางรังมีจำนวนประชากร
มากถึงล้านตัว มีการแบ่งวรรณะกันทำหน้าที่คือ วรรณะมดงาน เป็นมดเพศเมียเป็นหมัน ทำหน้าที่หาอาหาร สร้างและซ่อมแซมรัง ปกป้องรัง
จากศัตรู ดูแลตัวอ่อน และงานอื่น ๆ ทั่วไป เป็นวรรณะที่พบได้มากที่สุด วรรณะสืบพันธุ์ เป็นมดเพศผู้ และราชินี เพศเมีย มีหน้าที่สืบพันธุ์
เนื่องจากมดเป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae จึงสามารถผลิตกรดมดหรือกรดฟอร์มิกได้เป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์ในวงศ์นี้ มดหลายชนิดมี
พฤติกรรมในการทำการเกษตรหรือเพาะปลูกพืชหรือเชื้อราบางชนิดเพื่อใช้เป็นอาหาร โดยเชื่อว่า มีพฤติกรรมเช่นนี้มานานถึง 30 ล้านปีแล้ว
โดยการศึกษาของนักกีฏวิทยาพบว่า มดหลายชนิดมีพฤติกรรมการรู้จักการเพาะปลูกในเชิงสลับซับซ้อนคล้ายกับการเพาะปลูกของมนุษย์
รู้จักที่จะฝังเมล็ดพืชลงสู่พื้นดินอย่างไรถึงจะให้ผลผลิตที่ใช้เป็นอาหารได้ อีกทั้งรู้จักหลักในการควบคุมอุณหภูมิหรือความชื้นอีกด้วย ปัจจุบัน
มีการค้นพบมดมากกว่า 12,000 ชนิด โดยพบมากในเขตร้อนของโลก เฉพาะในภูมิภาคอาเซียน ประมาณว่ามีมด 1,300-1,500 ชนิด สำหรับใน
ประเทศไทยเริ่มมีการศึกษามดอย่างจริงจังในปี ค.ศ. 1997 พบมดแล้วกว่า 700 ชนิด และคาดว่าอาจมีมากได้ถึง 1,000 ชนิด

 

            เหยื่อกำจัดมด ของ ส.กำแพงแสน วัตถุดิบตั้งต้น เป็น แอมโมเนีย (ใช้ดมแก้เป็นลม) การใช้แอมโมเนียมาใช้งาน ด้วยสาเหตแอมโมเนีย
มีการแตกตัวเร็ว และเป็นสารระเหยได้เร็ว คุณสมบัติในส่วนนี้เราได้นำมาใช้ในการกำจัดมดในรัง แต่ลักษณะของเม็ดเหยื่อสร้างขึ้นมาให้มีรูปลักษณะ
ที่กึ่งคล้ายเม็ดทราย เพื่อให้ง่ายต่อการคาบเหยื่อไปในรัง ซึ่งจะพบว่ามดบางส่วนกินเหยื่อล่อ บริเวณที่โรยเหยื่อก็จะมีตายให้เห็นบ้าง แต่ส่วนใหญ่
จะทำหน้าที่มดคาบเหยื่อลงไปในรังเพื่อการสะสม เมื่อแอมโมเนียส่วนผสมในเม็ดเหยื่อเจอความชื้นในรังจะแตกตัวเกิดการระเหิด ไอของแอมโมเนีย
จะส่งผลให้มดตายกันทั้งรัง มดที่สามารถใช้งานได้ให้เกิดลักษณะการกำจัดแบบนี้ คือ มดคันไฟ มดละเอียด มดดำ มดตะนอย มดน้ำตาล แต่ถ้าเป็น
มดแดง หรือ มดส้ม ตามต้นไม้ จะมีกินและตายให้เห็น เพราะมดเหล่านี้ถึงแม้คาบไปในรัง (รังใบไม้) จะไม่มีความชื้น แต่จะทำให้มดกระจายตัวหาย
ไปอาจถึงขั้นไม่เหลือไว้ที่ต้นไม้เลย

            อาณุภาพหลักๆหลังจากการโรยเหยื่อ มดที่เห็นๆจะหายและเบาบางลงไป ถ้าเหยื่อกำจัดที่เราโรยยังคงสภาพไว้เช่นเดิมในบริเวณนั้นๆ

 

วิธีการใช้งาน

          
               
นำเหยื่อไปโรยบริเวณที่มีมดชุกชุม รอบขาตู้ ขาโต๊ะ โคนเสา กระถางต้นไม้ โรยทิ้งไว้โดยไม่ต้องกวาดออก หรือถ้ากวาดออกก็ให้โรยใหม่
ถ้าเจอขุยหรือรังมดก็ให้นำเหยื่อกำจัดไปโรยได้เลย ไม่เกิน 10 นาทีมดจะเบาบางและหายไป จะมีเห็นตายบ้างประปราย กรณีที่มดไต่กำแพง ให้นำ
เหยื่อไปโรยตามขอบผนังกำแพงที่ใกล้ที่สุดที่โรยได้ใกล้กับบริเวณที่มดไต่ ถ้าใชักับต้นไม้ให้นำไปโรยรอบโคนต้น 1 ซองต่อ 1 ต้น ถ้าจำเป็นต้องรดน้ำ
ก็งดการรดน้ำสัก 1-2 วัน หรือถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อเหยื่อหายไปก็โรยซ้ำเข้าไปใหม่อีกครั้ง ถ้ารณีมดแดง หรือมดส้มต้นไม้ ให้โรยตามโคนต้นและ
กิ่งที่โรยได้ หลีกเลี่ยงโรยในที่ชื้น ที่เปียกน้ำ เพราะเหยือเกิดจากสารละลายแล้วทำให้ตกผลึกนำมาบด เมื่อเจอความชื้นหรือพิ้นที่เปียก เหยื่อก็จะหาย
ไปขาดประสิทธิภาพการกำจัด

         
             ตะเข็บ ตะขาบทำเช่นเดียวกับการกำจัดมด โรยบริเวณที่สัตว์เหล่านี้ชุกชุม หรือ โรยดักทางเข้า เช่น ประตูบ้าน ขอบหน้าต่าง ประตูห้องน้ำ

 

                                  

รับประกันความพึงพอใจ ใช้งานตามคำแนะนำแล้วไม่ได้ผลยินดีคืนเงิน ทุกบาท ทุกสตางค์
กรุณาเข้า สู่ระบบ ก่อนทำการเขียนข้อความ